วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซีย

               ประเทศมาเลเซีย       (อังกฤษMalaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งเป็น 2 ส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ คาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ส่วนที่สองคือ ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน
         มาเลเซียตะวันตก
     ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมาลายู ประกอบด้วยรัฐต่างๆ ๑๑ รัฐ ได้แก่ ยะโฮร์ เคดาห์ กลันตัน มะละกา เนกรี-เซมบิลัน ปาหัง  ปีนัง เปรัค เปอร์ลิส ตรังกานู และเซลังงอร์  ส่วนที่ยาวที่สุดจากรัฐเปอร์ลิส ถึงช่องแคบยะโฮร์
          มาเลเซียตะวันออก
     ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกาลิมันตัน หรือเกาะบอร์เนียว ประกอบด้วย ๒ รัฐคือ ซาบาห์ และซาราวัค โดยมีประเทศบรูไนคั่นอยู่ระหว่างรัฐทั้งสอง
1.   ที่ตั้งอาณาเขต  
        ทิศเหนือ  ติดต่อกับประเทศไทย ในเขตรัฐห้ารัฐด้วยกัน เรียงจากตะวันตกไปตะวันออกคือ รัฐเปอร์ลิส รัฐเคดาห์ รัฐเปรัค และรัฐกลันตัน
        ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ติดต่อกับทะเลซูลู ใกล้หมู่เกาะฟิลิปปินส์
        ทิศตะวันออก  ติดต่อกับทะเลจีนใต้
        ทิศใต้ ติดต่อกับช่องแคบยะโฮร์ ซึ่งกั้นระหว่างประเทศมาเลเซียกับประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนิเซีย
        ทิศตะวันตก  ติดต่อกับทะเลอันดามัน ในมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา ซึ่งกั้นระหว่างมาเลเซียกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย
2.   พื้นที่
     ประเทศมาเลเซีย แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรเรียกว่า มาเลเซียตะวันตก และส่วนที่อยู่ในเกาะบอร์เนียว เรียกว่า มาเลเซียตะวันออก ทั้งสองส่วนนี้ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ๑๓ รัฐ อยู่ในมาเลเซียตะวันตก ๑๑ รัฐ อยู่ในมาเลเซียตะวันออก ๒ รัฐ
      รวมมีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ ๓๒๙,๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณสองในสามของพื้นที่ประเทศไทย

3.    ลักษณะภูมิประเทศ   
1.   มาเลเซียตะวันตก  ตั้งอยู่บนแหลมมลายู ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และหนองบึง ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที
        มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล
4.    ลักษณะภูมิอากาศ
       ประเทศมาเลเซียมีลักษณะภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ของประเทศไทย  แต่เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้เส้นสูตรและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดีย และทะเลจีนใต้ จึงมีผลทำให้อุณภูมิไม่สูงนัก โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 22-36องศาเซนเซียส  มีฝนตกเกือบตลอดปี   และมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าประเทศไทย   
 5.    เมืองหลวง    
    กรุงกัวลาลัมเปอร์
6.    ประชากร
      มาเลเซีย มีประชากรอยู่หนาแน่นบนแหลมมลายู บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันตก โดยมีประชากรประมาณ
ร้อยละ ๘๒ รองลงมาคือ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนที่อยู่ในเกาะบอร์เนียว มีประชากรอยู่หนาแน่น บริเวณที่ราบชายฝั่งทางตอนใต้ของรัฐซาราวัค แถบบริเวณแม่น้ำ
      มาเลเซียมีหลายเชื้อชาติ และยังมีชนเผ่าน้อยในรัฐซาบาห์ และซาราวัค ทำให้เกิดเป็นชาติพันธุ์ลูกครึ่งเชื้อชาติต่างๆ เช่น  ชาวมาเลย์  อินเดีย จีน
การแต่งกายของชาวมาเลเซีย

7.    ศาสนา
    ศาสนาประจำชาติมาเลเซียคือ ศาสนาอิสลาม ชาวมาเลย์ที่นับถือศาสนาอิสลาม มีประมาณร้อยละ ๕๓ นับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ ๑๗  นับถือลัทธิเต๋า ประมาณร้อยละ ๑๒  นับถือศาสนาคริสต์ ประมาณร้อยละ ๘ นับถือศาสนาฮินดู ประมาณร้อยละ ๘  และอื่น ๆ ประมาณร้อยละ ๒
8.     ภาษา
       ชาวมาเลเซีย มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ  นอกจากนั้นยังมีภาษาอังกฤษ  ภาษาจีน ภาษาทมิฬ และภาษาประจำเผ่าของชนชาวเผ่าส่วนน้อยในประเทศ
       9.    การเมืองการปกครอง
          มาเลเซียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ การปกครองประเทศแบบสหพันธ์รัฐ (Federation) แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ คือ เปรัค ปาหัง สลังงอร์ ไทรบุรี เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัค
        รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร  ซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาซึ่งสมาชิกได้รับการแต่งตั้งโดยสมเด็จพระราชาธิบดี  อีกส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยนิติบัญญัติในแต่ละรัฐ  รัฐบาลเป็นรัฐบาลผสม มีพรรคร่วมรัฐบาลที่เรียกว่าพรรคแนวร่วมแห่งชาติ (Barisan Nasional-BN) ประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยเลือกตั้งจากสุลต่านผู้ปกครองรัฐ ซึ่งมีใน รัฐ (ยกเว้นปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัก) ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่ง วาระละ ปี  เรียกว่ายังดี  เปอร์ตวนอากง
        ประมุขของประเทศ คือสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ตวนกู จาฟา อัลมารุม ตวนกู อับดุล ราห์มาน (Tuanku Ja'afar AlmarhumTuanku Abdul Rahman, Yang Di Pertuan Agong ) เป็นองค์พระประมุขของกง   มีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้บริหารประเทศ
        10.     เศรษฐกิจ
1.  เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
2.  การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก แร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ
3.  การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย
4.  อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)
      11.    สกุลเงิน   
     มาเลเซียมีหน่วยเงินตราเป็น ริงกิตมาเลเซีย โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 10.42 บาท ต่อ ริงกิต

      12.    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย
        ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต กับมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2500  ไทยมีสถานกงสุลใหญ่ในมาเลเซีย แห่ง (สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง และสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู) และมีสถานกงสุลประจำเกาะลังกาวี  สำหรับหน่วยงาน ของส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ภายใต้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร  สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานแรงงาน ส่วนหน่วยงานของไทยอื่นๆ ที่ตั้งสำนักงานในมาเลเซีย คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทการบินไทย สำหรับหน่วยงาน ของมาเลเซียในไทยได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย และสถานกงสุลใหญ่ มาเลเซีย ประจำจังหวัดสงขลา
        ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ได้พัฒนาแน่นแฟ้น จนมีความใกล้ชิดกันมาก เนื่องจาก ทั้งสองประเทศมี ผลประโยชน์ร่วมกันหลายประการ การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับพระราชวงศ์ชั้นสูง รัฐบาล และเจ้าหน้าที่ ทั้งอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ เป็นไปอย่าง สม่ำเสมอ แต่แม้ว่าสองฝ่าย แต่ยังคงมีประเด็นปัญหา ในความสัมพันธ์ ซึ่งต้องร่วมมือกันแก้ไข เช่น การปักปันเขตแดนทางบก บุคคลสองสัญชาติ การก่อความไม่สงบในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น